top of page

Nikkor Z 24-120 f/4 S

Updated: May 5


แล้วก็วนมาถึงรีวิวเลนส์ที่ออกมานานแล้วอย่าง 24-120 f4 ของนิคอนกันบ้าง ก่อนหน้านี้ผมเคยใช้เลนส์ช่วงนี้อยู่ตัวหนึ่งคือ Panasonic Lumix S 24-105 F4 Macro OIS ซึ่งเคยริวิวกันไปแล้ว (https://www.paronya.com/single-post/panasonic-lumixs-24-105-f4-macro-ois) ซึ่งสีสันและคาแรกเตอร์แตกต่างกับนิคอนตัวนี้โดยสิ้นเชิง สีสันและบรรยากาศของภาพมันส่งผลต่ออารมณ์ของเราเวลากลับมามองภาพแล้วย้อนนึกถึงเหตุการณ์นั้น ๆ เหมือนกันนะครับ เอาล่ะเราจะไม่พูดกันเรื่องนี้เพราะเคยเขียนไปเยอะแล้ว คราวนี้กดมาที่นิคอนเน้น ๆ เลยครับ แน่นอนว่าโฟกัสเร็วกว่ามหาศาล เรื่องนี้ต้องดูที่กล้องกับเลนส์ประกอบกันด้วยนะครับ เลนส์อาจไม่ได้ช้าแต่กล้องช้าก็จบกัน เพราะตัว Panasonic ตอนนั้นผมประกบกับ Sigma fp เรื่องความไวการโฟกัสก็เลิกพูดกันไปได้ ส่วน Nikon ผมมีโอกาสใช้ Z6ii ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Zf พบว่า โฟกัสมันไวขึ้นอย่างรู้สึกได้ จิกได้ตลอด เมื่อใช้กับเลนส์ตัวนี้ผมเปิด AF-C + face detection เอาไว้ตลอด กล้อง+เลนส์ตัวนี้ที่มี stepper motor 2 ตัว ก็จับโฟกัสได้ทันไม่มีภาพเสียเลยครับ (ยกเว้นไปเจอจังหวะเอ๋อ เปลี่ยนจุดโฟกัสไปจับหน้าคนอื่นที่เราไม่ต้องการ)

  So, let's talk about the review of the long-standing lens, the 24-120 f/4 by Nikon. Previously, I had used a lens in this range, the Panasonic Lumix S 24-105 F4 Macro OIS, which I've reviewed before. The color rendition and characteristics are quite different from those of this Nikon lens. The colors and atmosphere of the images affect our emotions when we look back at them, recalling the events similarly. But let's not dwell on that because I've written about it extensively before. This time, let's focus solely on Nikon. Undoubtedly, the autofocus has improved significantly from the L mount series. However, this depends on the combination of the camera and lens. The lens might not be slow, but if the camera is, then that's it. Back then, I paired the Panasonic lens with the Sigma fp, and the focus speed discussion was over. As for Nikon, I had the chance to use the Z6ii before switching to Zf. I found the focus to be noticeably faster. With this lens, I kept AF-C + face detection on all the time. With the camera and this lens, equipped with two stepper motors, focusing was spot on without any out-of-focus (except for those rare occasions when it shifted focus to someone else's face inadvertently).

During the time I used the Z6ii, we went out shooting like this, no worries.


สีสันของภาพ ผมว่ากล้องนิคอน ในภาพโดยรวมจะติดเหลืองนิด ๆ สกินโทนไม่สวย ส่วนกล้อง L-mount ทั้งหลายจะอมม่วงมากกว่า (ซึ่งผมชอบมากกว่า ถ่ายคนสวยดี แต่ไม่จืด ถ่ายต้นไม้ใบไม้สีก็สดแน่นดี) แล้ว L-mount ทั้งหลายตอนที่ใช้ ไม่เคยสนใจเปลี่ยนโปรไฟล์ของภาพเลยแม้แต่น้อย แต่พอมาใช้นิคอน ต้องคอยปรับคอยเปลี่ยนโปรไฟล์ให้เข้ากับภาพที่เรากำลังถ่ายอยู่เสมอ ๆ มันก็วุ่นวายนิดหน่อย ไม่ค่อยชอบหรอกครับแต่ก็ต้องทำใจ ถ้าวินาทีที่ Leica SL-3 ออกมาแล้วโฟกัสได้ไวเท่าชาวบ้านเขาแล้วก็น่าสนใจที่จะย้ายค่ายกลับไปเหมือนกัน

The overall color tone of Nikon cameras tends to have a slight yellowish tint, and the skin tones don't look as nice. On the other hand, L-mount cameras often lean towards a more purple hue (which I personally prefer because it captures beautiful portraits without looking dull and renders foliage and greenery quite deep). When using L-mount cameras, I never really bothered to adjust the picture profile, but with Nikon, I find myself constantly adjusting and changing the profiles to match the scene I'm shooting. It's a bit of a hassle, and I'm not particularly fond of it, but I've learned to live with it. If the Leica SL-3 can achieve fast autofocus like their other cameras, it might be interesting to consider switching back to their system.

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S


ด้วยคุณภาพของเลนส์ที่แปะตรา S-line มา ทำให้ไว้วางใจได้ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพดี คมยันขอบ แถมด้วยไมโครคอนทราสต์ดี ภาพมีความเด้ง น่าสนใจ ตรงนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผมชอบจากเลนส์ตัวนี้ มันเป็นเลนส์ที่หวังผลซีเรียสได้เลย ใครมอง ๆ เลนส์ช่วงซูมอเนกประสงค์ช่วงยาว ๆ อย่าง 24-200 หรือแม้แต่ 28-400 ที่เพิ่งออกมาใหม่ ผมเชียร์ให้มาลองเล่นตัวนี้ก่อนครับแล้วค่อยตัดสินใจกัน (ซื้อเลนส์อย่ารีบกดออนไลน์ ต้องมาลองของจริงก่อนเสมอนะครับ) ตามร้านกล้องต่าง ๆ ยินดีให้ทดลองถ่ายอยู่แล้ว พกเมมโมรีการ์ดกันไปหน่อย ถ่ายเปรียบเทียบแล้วเอากลับมาส่องที่บ้านว่าต้องการ “ได้ภาพ” หรือต้องการให้ “ภาพมันได้” ค่อยมาตัดสินใจกัน ส่วนตัวผมเลือก “ภาพมันได้” มากกว่า ไม่คาใจ ถ้าภาพมีมิติที่ดี เรื่องสี เรื่องการเก็บรายละเอียดส่วนมืดส่วนสว่าง ไม่โครคอนทราสต์ ความคม ภาพธรรมดา ๆ ก็กลายเป็นภาพที่น่าดูได้ครับ อยากบอกว่าคำว่า "S-line" ที่แปะไว้ข้างเลนส์ ไม่ใช่ป้ายอัพราคานะครับ คุณภาพมันแตกต่างกันอย่างรู้สึกได้จริง ๆ และเป็นที่น่าสนใจว่าเลนส์รุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ทำ “ความใส” ของภาพได้ดีนะครับ ทั้ง ๆ ที่มีชิ้นเลนส์จำนวนมาก (24-120 มี 16 ชิ้น 13 กลุ่ม) ถ้าเป็นสมัยก่อนลุง ๆ อย่างเรามักจะมองหาเลนส์ที่มีชิ้นแก้วไม่เยอะ เพื่อให้ได้ภาพใส ๆ สวย ๆ ครับ สมัยนี้เทคโนโลยีมันไปไกลกว่าเดิมมาก รวมถึงการ Coating ที่ทำได้ดีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์

With the quality of lenses bearing the S-line designation, you can trust that the resulting images will be of high quality, sharp to the edges, and complemented by excellent micro-contrast. This is another aspect of the lens that I particularly like. It's a lens that delivers the results I expect. For those considering zoom lenses, such as 24-200 or even 28-400, which have recently been released, I encourage you to try this 24-120 or 24-70 first before making a decision. Avoid rushing to buy online; always try the actual product first. Camera stores are usually happy to let you test them out. Bring along a memory card to take some shots and compare. Then, you can decide whether you want 'a picture' or 'the picture.' Personally, I choose 'the picture.' It doesn't matter if the image has dimensionality, good color reproduction, detail retention in both shadows and highlights, no chromatic aberration, and sharpness. Even a simple image can become captivating. I want to emphasize that the term 'S-line' attached to the lens is not just a marketing tactic to raise the price. The difference in quality is truly noticeable. It's interesting how modern lenses can achieve such clarity in images despite having many glass elements (the 24-120 has 16 elements in 13 groups). In the past, we used to prefer lenses with fewer glass elements to get clear and beautiful images. Nowadays, technology has advanced significantly, including coating techniques, which have improved remarkably.

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S

Nikon Z6ii + Nikkor Z 24-120 f/4 S ความไวชัตเตอร์ 1/8 วินาที ถือถ่ายดื้อ ๆ เลย กันสั่นใช้ได้ครับ


มาถึงเรื่องหลังเบลอกันบ้างที่หลายท่านอาจหวั่นใจว่าที่ 120 f4 กับ 70 f2.8 มันจะถ่ายได้เบลอต่างกันมาน้อยแค่ไหน เราควรไปเอา 24-70 f2.8 เพื่อการถ่ายภาพบุคคลมากกว่าหรือไม่ อันนี้ลองเองมาหลายตัวหลายค่ายแล้ว ตอบได้เลยว่าที่สองระยะนี้เบลอหลังได้พอ ๆ กันครับ เพราะที่ 120 ทัศนมิติมันอัดแน่นเข้ามามากกว่า ถ่ายทิ้งฉากหลังไกล ๆ มาผมว่าได้พอกัน แต่เรื่องโบเก้ของ 24-120 f4 ถ้าใครซีเรียสลองทดสอบกันดี ๆ นะครับ ส่วนตัวผมว่าโบเก้ไม่ได้ดีนัก การเกลี่ยแสงในวงผมว่าใช้ได้ แต่ตามขอบภาพโบเก้จะแหว่งครับ ไม่ใช่เป็นวงรีรูปรักบี้นะครับ แต่แหว่งแบบเห็นว่าโดนตัดไปเลย สายน้าพิจารณากันให้ดีครับ ฉากหลังที่ได้มันจะเห็นเส้นโค้งที่เกิดจากวงโบเก้โดนตัดนี่แหละรบกวนภาพได้เหมือนกัน

When it comes to background blur, many may wonder how much difference there is between f/4 at 120mm and f/2.8 at 70mm. Should we opt for the 24-70mm f/2.8 for portrait photography? Having tested numerous lenses across different brands and focal lengths, I can confidently say that the blurring effect is comparable between these two focal lengths. This is because at 120mm, the depth of field becomes compressed, making distant backgrounds appear more condensed. Shooting with a distant background at 120mm usually yields acceptable results. However, regarding the bokeh quality of the 24-120mm f/4, I suggest those interested try it out themselves. Personally, I find the bokeh to be less than ideal. While it handles light falloff reasonably well, the edges of the bokeh can appear somewhat cut-off circle. It's not a complete circular bokeh; rather, it's more like distorted shapes around the edges. So, it's crucial to carefully consider how the background will look, especially considering the potential for distorted shapes caused by the bokeh.

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S ดูวงโบเก้ด้านหลังนะครับ

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S two above captured in jpg with custom profile


ข้อได้เปรียบประการใหญ่ ๆ ของ 24-120 ที่เหนือกว่า 24-70 คือการถ่าย close up ได้ครับ ตัวนี้มีอัตราขยายที่ 1:2.56 เรียกว่าโคลสอัพได้แล้ว มันทำให้เลนส์ถ่ายได้สนุกขึ้น (แต่ขอย้ำว่าอัตราขยายเท่านี้ไม่ใช่มาโครแบบที่หลายค่ายชอบเอาไว้ใช้โฆษณานะครับ มาโครมันต้องขยาย 1:1 ครับ ตรงนี้พิจารณากันให้ดี ๆ) ส่วนเจ้า 24-70 มีอัตราขยายที่ 1:4.5 ครับ ทำให้เลนส์ 24-120 เป็นเลนส์ที่ถ่ายได้สนุกมาก ๆ ตัวหนึ่ง เพราะอเนกประสงค์ กว้างได้ เทเลช่วงต้นได้ ถ่ายใกล้ได้ ถ่ายภาพบุคคลก็ได้ แล้วคุณภาพของทั้งหมดทั้งปวงนี้ ไม่ได้แย่เลยนะครับ

One major advantage of the 24-120mm over the 24-70mm is its ability to shoot close-up. With a magnification ratio of 1:2.56, it's considered close-up capable, enhancing the lens's versatility. However, it's essential to note that this magnification ratio isn't true macro, which typically requires a 1:1 ratio. So, it's crucial to keep that in mind. On the other hand, the 24-70mm has a magnification ratio of 1:4.5, which limits its close-up capabilities compared to the 24-120mm. Therefore, the 24-120mm becomes a more enjoyable lens to use due to its versatility—it covers a wide range, offers telephoto capabilities, allows for close-up shots, and maintains overall good image quality.

Nikon Z6ii + Nikkor Z 24-120 f/4 S สัตว์เล็กสัตว์น้อย ตอนกลางคืนเก็บได้หมดสบาย ๆ


ข้อที่แตกต่างจาก 24-70 S รุ่นเรือธงของค่ายที่น่าสนใจคือ 24-120 เป็น S-line ก็จริงแต่ไม่มี Arneo coating นะครับ ตรงนี้ขอสารภาพตามตรงว่ายังไม่ได้ลองเลนส์ที่มีการ coat ด้วยวิธีนี้ ว่าภาพมันจะแตกต่างกันขนาดไหนครับ

The notable difference from the flagship 24-70 S lens that is interesting is that the 24-120 is part of the S-line. However, it doesn't have Arneo coating. I haven't tried a lens with this special coating yet. I wonder how much the image quality differs

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S เลนส์ใหม่ ๆ มันดี ย้อนแสงไม่ต้องคิดอะไร


Nikkor Z 24-120 f/4 S ออกมาตั้งแต่ปี 2021 ครับ ปัจจุบันก็ยังถือว่าเป็นเลนส์ที่ดีมากอยู่ ระบบโฟกัสดี (ดีกว่า 24-200 ชัดเจน) เลนส์ช่วงนี้ไม่มี VR นะครับ แต่เราใช้กันสั่นในตัวกล้องได้ (ส่วนตัวผมไม่สนใจเรื่องพวกนี้เท่าไรมาแต่ไหนแต่ไร ยังไงภาพลักษณะที่เราถ่ายเราก็อยากคุม shutter speed มากกว่า) ตัวเลนส์มีน้ำหนัก 630g ถือว่าเป็นเลนส์อเนกประสงค์พกพาได้ง่ายพอสมควร

  The Nikkor Z 24-120 f/4 S has been available since 2021 and is still considered an excellent lens. Its autofocus system is good, better than the 24-200. This lens doesn't have VR (Vibration Reduction), but camera stabilization can compensate for it. Personally, I'm not too concerned about these features; I prioritize controlling shutter speed. The lens weighs 630g, making it reasonable to carry for general use.

Nikon Z6ii + Nikkor Z 24-120 f/4 S action จัดได้ ไวพอ


ช่วง 24-120(24-105) กับ 24-70 เป็นช่วงที่เลือกยากเสมอครับ ตัวหนึ่งถูกกว่า เล็กเบา ช่วงซูมมากกว่า อัตราขยายสูงกว่า แต่ f แคบกว่า อีกตัวหนึ่ง ได้ f กว้างกว่า แต่แพง ใหญ่ หนัก และซูมช่วงน้อยกว่า หลาย ๆ ครั้งมักจะแถมมากับภาพที่ “ใส” กว่าด้วย อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องไล่ไปลองกันเองแล้วครับ ว่าถูกใจกับตัวไหนมากกว่าก็จัดตัวนั้นมาใช้งานกันครับ

  Choosing between the 24-120 (or 24-105) and the 24-70 is always a tough decision. One lens may be cheaper, lighter, have a wider zoom range, and higher magnification ratio, but with a narrower aperture. The other lens might have a wider aperture but be more expensive, larger, heavier, and with a narrower zoom range. Many times, the latter also produces images with more "pop." Reading up to this point, you'll have to try them out yourself to see which one you prefer.

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S


ส่วนการเลือกซื้อเลนส์หลาย ๆ ช่วงสำหรับ Nikon ผมขอแนะนำส่วนตัวว่าให้ซื้อ S-line ไปเลยครับ ตัว f4 ทั้งหลายราคาไม่แพงมาก แต่คุณภาพที่ได้มันไปสุด และคงคุณภาพเดียวกันในทุก ๆ เลนส์ในอนุกรมนี้ ดังนั้นเวลาเราพกไปเที่ยวไหน เปลี่ยนเลนส์ไปมา คุณภาพของภาพจะคงที่ครับ เวลาเอาภาพมาเปิดดูทีหลังจะราบรื่นร้อยเรียงเป็นบรรยากาศเดียวกันได้ดีมาก ๆ ทุกวันนี้ผมมี 14-30 f4 S, 24-120 f4 S, 100-400 f4.5-5.6 S, และ 85 f1.8 S ทุกตัวถ่ายแทนกันได้หมด ความคม คอนทราสต์ อยู่ในระดับและแนวทางเดียวกัน... สวัสดี

As for choosing lenses for Nikon, I personally recommend going for the S-line. The f/4 versions are not too expensive, yet they offer top-notch quality, consistent across all lenses in this lineup. So, whenever you're traveling and switching lenses, the image quality remains consistent. When you review the images later, the transition is smooth, and the atmosphere is well-preserved. Currently, I have the 14-30mm f/4 S, 24-120mm f/4 S, 100-400mm f/4.5-5.6 S, and 85mm f/1.8 S. Each of them can replace the other, ensuring consistent sharpness, contrast, and direction. Goodbye.

Nikon Zf + Nikkor Z 24-120 f/4 S ลองกับ Flat monochrome แถมให้รูปนึง

Comments


bottom of page