top of page

Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 Review

Updated: Feb 27

"สายนกแบบประหยัดต้องมี"

"A bird photographer on a budget must have one."


สวัสดีครับ วันนี้ได้ฤกษ์ดี สวัสดีปีใหม่ 2024 เพื่อนพี่น้องทุกท่าน หลังจากใช้งานเจ้า Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 VR มาสักพัก (ใหญ่ ๆ) ก็ขอเอามาบอกเล่าให้เพื่อนพี่น้องไว้เป็นข้อมูลเผื่อใครกำลังลังเลกับเลนส์ตัวนี้ครับ

 

ตั้งแต่เล่นกล้องมาผมมีโอกาสได้ลองใช้เลนส์ช่วง Super telephoto อยู่สัก 4 ตัว ได้แก่

-        Tamron SP 150-600 f5-6.3 Di VC USD

-        Nikkor 200-500 f5.6 VR

-        Sigma 100-400 f5-6.3 DG DN OS C

-        Sigma 150-600 f5-6.3 DG DN OS Sports

-        Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 VR

ก็ต้องบอกว่ามันเป็นเลนส์คนละยุคคนละสมัยกัน จะเอามาเปรียบเทียบกันทั้งหมดคงไม่ได้ แต่จำได้ว่าสมัยที่ใช้ Tamron สีมันจืด ภาพมันแบน เลยเปลี่ยนมาใช้ Nikkor 200-500 แทนเพราะได้ภาพดีกว่า ก่อนจะเลิกรากันไปหันมาเล่น L mount ก็ไฟต์บังคับต้องมาเจอกับ Sigma 100-400 ซึ่งเบาดีสีสวย ลองดูกันได้ที่ https://www.paronya.com/single-post/sigma-100-400-5-6-3-dg-dn-os-c-1 ก่อนที่จะปล่อยไปเพราะ Sigma 150-600 Sports ตัวใหม่ที่เพิ่งออกมาทีหลัง ภาพดีเช่นกันครับ สีสันดี โฟกัสใช้ได้ เป็นเลนส์ที่โดยรวมผมชอบมันมาก ๆ เลยนะครับ การออกแบบภายนอกใส่ใจมาอย่างดี ไม่ชอบอยู่นิดเดียวเองคือฐานตรงคอลล่ามันสั้นไปหน่อย หิ้วไม่สะดวก ตอนนั้นยังติด Teleconverter 2X เข้าไปด้วย คุณภาพของภาพลดลงหน่อยแต่ได้ระยะมาเป็น 1200mm สะใจดี ใครสนใจลองไปอ่านรีวิวกันได้ที่ https://www.paronya.com/single-post/sigma-150-600-f5-6-3-dg-dn-os-sport และ https://www.paronya.com/single-post/sigma-tc-2011 สำหรับ Teleconverter ใช้กันมาสักพักจนเลิกคบกับ L mount กลับมาหา Nikon อีก เลยมาลงเอยกับตัวใหม่ล่าสุดนี้ Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 VR


Hello, everyone; today is a great day. Happy New Year 2024 to all of you! After using the Nikkor Z 180-600mm f/5.6-6.3 VR for a while, I'd like to share my experience with it for those who might be considering this lens.


Ever since I started photography, I've had the opportunity to try out four super telephoto lenses:

Tamron SP 150-600mm f/5-6.3 Di VC USD

Nikkor 200-500mm f/5.6 VR

Sigma 100-400mm f/5-6.3 DG DN OS C

Sigma 150-600mm f/5-6.3 DG DN OS Sports

Nikkor Z 180-600mm f/5.6-6.3 VR

Each of these lenses belongs to a different era and has its own characteristics. While it's not possible to compare them directly, I remember that when I used the Tamron, the colors were dull and the images flat. So, I switched to the Nikkor 200-500mm because it produced better images. Before switching to the L-mount system, I had to deal with the Sigma 100-400mm, which was lightweight and produced beautiful colors. You can check it out at [link]. I eventually let it go because of the new Sigma 150-600mm Sports lens, which produced excellent images with vibrant colors. Overall, I really liked it. The exterior design was well thought out. The only thing I didn't like was that the collar foot was a bit short, and it wasn't convenient to carry. At that time, I also used a 2x teleconverter, which slightly reduced image quality but gave me a focal length of 1200mm, which was satisfying. If anyone is interested, you can read the reviews [link] and TC 2x [link]. I used teleconverters for a while until I switched back to Nikon and got my hands on the latest Nikkor Z 180-600mm f/5.6-6.3 VR.

 

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3


ซูม 600mm กับซูม 400mm เลือกอะไรดี

เลนส์ช่วงนี้มันแปลกครับเวลาไม่มีติดตู้ก็จะรู้สึกว่าเลนส์ไม่ครบช่วง ขาดอะไรไปบางอย่าง จะไปถ่ายนกถ่ายหนูกก็หงุดหงิดเพราะซูมไม่ถึงใจ แต่พอมีแล้วก็มักจะขี้เกียจแบกเพราะมันหนักระดับ 2 kg กันทุกตัว ถ้าใครไม่ต้องการระยะ 600mm จริง ๆ ผมเชียร์ไปช่วง 100-400 หมดเลยนะครับ เลนส์มันเบา แบกสบายกว่ามาก คุณภาพก็ดี ส่วน 70-200 นั้นผมแทบไม่เคยใช้เลย น่าจะเหมาะกับการถ่ายพวกงาน event ต่าง ๆ มากกว่าการหิ้วเข้าป่าแบบเรา

 

Which is better, a 600mm or a 400mm zoom lens?

Choosing between a 600mm and a 400mm zoom lens depends on your specific needs and preferences. In some cases, the 600mm lens may feel more complete and versatile, especially when shooting distant subjects like birds or wildlife. However, its weight, typically around 2 kg, can be cumbersome and inconvenient to carry around without a tripod.

On the other hand, the 400mm lens may not provide as much reach as the 600mm, but it is lighter and more portable, making it easier to handle for extended periods. If you don't necessarily need the extra focal length, a 100-400mm zoom lens might be a suitable alternative. It offers a good balance between reach, weight, and image quality.

Regarding the 70-200mm lens, while it may not be ideal for shooting wildlife in remote locations, it is well-suited for event photography and general-purpose shooting due to its versatility and optical performance.


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 comparing between 180mm and 600mm.


Nikkor Z 24-120 f4 S @ 24mm / Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ 600mm


ความประทับใจภายนอก

เลนส์ตัวนี้แนวความคิดในการออกแบบดีมาก ที่พยายามรักษาสมดุลของน้ำหนักโดยการทำให้เป็น Internal zoom และสมดุลไม่เปลี่ยนแปลงเวลาเปลี่ยนระยะการถ่ายภาพ ลองหมุนที่ 180 และ 600 วางบนพื้นโดยใช้ขาจาก Collar ของมันเอง ก็พบว่าสมดุลดี ถือถ่ายจริงก็สมดุลดีครับ อย่างไรก็ตามจะบอกไว้สักนิด เลนส์ที่ออกมาก่อนอย่าง Sigma 150-600 sport ถึงแม้ว่ากระบอกซูมจะยืดออก แต่ก็ทำสมดุลได้ดีเช่นเดียวกัน ลองทดสอบดูก็รักษาสมดุลของน้ำหนักเลนส์ได้ดีมาก ๆ เช่นเดียวกันครับ (แถมผมยังชอบชั้นเชิงในการออกแบบเลนส์ภายนอกของ Sigma มาก ๆ ทั้ง Collar ไปจนถึง Lens hood ลองตามกลับไปอ่านกันดูครับ เหนือชั้นไปก่อนกาลเรียบร้อย) แต่นั้นไม่ได้แปลว่า Nikkor 180-600 จะแย่นะครับ มันยังเป็นเลนส์ที่ออกแบบได้ยอดเยี่ยมและคุ้มค่ากับการรอคอยครับ


External Impressions

This lens has been excellently designed with a focus on maintaining balance, both in weight and handling. Its internal zoom feature ensures that the balance remains consistent throughout the zoom range. I tried rotating it to both 180mm and 600mm and placed it on the ground using its own collar, and I found the balance to be excellent. It feels well-balanced when shooting in real-world scenarios as well. However, I must mention that previous lenses like the Sigma 150-600 Sport also maintained balance well despite having an extending zoom barrel. It's impressive how they manage to preserve the lens's weight balance effectively.

Additionally, I appreciate the attention to detail in the external design of Sigma lenses, from the collar to the lens hood. It's worth reading more about their design philosophy. Nevertheless, this doesn't mean that the Nikkor 180-600 is inferior. It's still an excellently designed lens that lives up to the expectations.


เรื่องของรูรับแสง

พูดถึงเรื่องรูรับแสงกันนิดนึง เลนส์ Super telephoto ราคาประหยัดกลุ่มนี้มักมีค่ารูรับแสงเริ่มต้นที่ 5 หรือ 5.6 แล้วไล่ไปจบแถว ๆ 6.3 กันแทบทั้งนั้น มันโอเคเวลาถ่ายในที่มีแสงมาก ๆ ครับ แต่ในบางสถานการณ์ที่แสงน้อยและต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของแบบ เช่น เวลาเดินดูนกเช้า ๆ หรือเย็น ๆ เจอนกในพุ่มไม้บางทีต้องดัน ISO กันไปถึง 25600 เลยก็มี ทำให้คุณภาพของภาพที่ได้มามันถูกลดลงด้วย noise ที่เกิดขึ้น เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวแบบจริงจังอย่าง 600mm f4 ถึงแม้ว่าได้ความไวแสงเพิ่มมาแค่ 1.5 stop แต่นั่นหมายถึง ISO สามารถลดลงมาได้ด้วย ทำให้คุณภาพที่ได้ดีกว่ามากมายจริง ๆ  นอกเหนือจากรูรับแสงแล้ว เลนส์ที่เป็นเลนส์ฟิกซ์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวก็มักจะให้ภาพที่ดีกว่าเลนส์ซูมโดยพื้นฐานอยู่แล้ว (เคยใช้ Nikkor 300mm f2.8 ภาพที่ได้มันแตกต่างมาก ๆ ครับ) อย่างไรก็ตามราคาเลนส์พวกนี้ไม่น่ารักเลย เดี๋ยวนี้ราคาเทียบเท่ารถคันนึงเลยนะครับ ซึ่งเราเองไม่ได้เป็นนักถ่ายภาพสัตว์มืออาชีพ ก็ต้องยอมรับสภาพไป หันมาเล่นเลนส์ซูมพวกนี้มันประหยัดกว่ามากจริง ๆ

 

Regarding Aperture

Let's talk about aperture for a moment. Super telephoto lenses in the budget range typically start with an aperture value of f/5 or f/5.6 and gradually decrease to around f/6.3. This is fine when shooting in well-lit environments. However, in low-light situations where you need to freeze motion, such as when birdwatching in the early morning or late evening, you may have to push the ISO up to 25600. This results in a decrease in image quality due to the noise generated. A prime telephoto lens like a 600mm f/4, even though it only adds about 1.5 stops of light, allows you to lower the ISO, resulting in significantly better image quality. Beyond just aperture, prime telephoto lenses often provide better image quality compared to zoom lenses by default. (I've used the Nikkor 300mm f/2.8, and the difference in image quality is significant.)

However, the prices of these lenses are not friendly at all. Nowadays, they cost as much as a car. As someone who is not a professional wildlife photographer, I have to accept the situation. Turning to zoom lenses is much more economical.

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3


คุณภาพของภาพ

ก่อนเลนส์จะออกวางขายในไทย นักรีวิวหลายสำนักอวยชัยให้พรกันสุด ๆ 180-600 เรียกได้ว่าเป็นกลายเป็นเลนส์ตัวนึงที่กระแสดี คนตั้งตารอซื้อหามาใช้กันเยอะ แต่หลังจากที่ได้ลองเจ็บเองเล่นเองมาแล้วก็พบว่ามันไม่ได้ดีแบบไร้ที่ติกันแบบนั้น เลนส์ตัวนี้แอบมีข้อจำกัดอยู่ เวลาเปิดรูรับแสงกว้างสุดแล้วถ่ายย้อนแสงหรือฉากหลังที่มีความเปรียบต่างของแสงสูง ๆ ครับ ภาพที่ได้คมถึงคมมากน่าพอใจแต่ส่วนที่เจอย้อนแสงมาจะฟุ้งเลยครับ ซึ่งผมไม่โอเคกับอาการนี้มาก ๆ ลองดูตามภาพตัวอย่างได้เลยครับ มุมย้อนแสงแบบนี้ต้องเจอประจำเวลาถ่ายนกเสียด้วย ตรงนี้ผมเชื่อว่านักรีวิวหลายสำนักไม่ได้พูดถึง เรามาว่ากันตรง ๆ เพื่อเพื่อนพี่น้องที่กำลังสนใจนะครับ เลนส์ตัวนี้เป็นตัวเดียวในชุดของผมที่ไม่ใช่ S-line เลยไม่แน่ใจว่าถ้าเป็นตัว 100-400 f4.5-5.6 VR S ตัวนั้นจะทำคุณภาพของภาพได้ดีกว่านี้ไหม แต่ S-line ที่เหลืออีก 3 ตัวในชุดที่ผมใช้ ถึงแม้ว่าจะเป็น S-line ตัวราคาถูก แต่การใช้งานไม่มีประเด็นเรื่องคุณภาพของภาพใด ๆ เลยครับ

 

Image Quality

Before the lens was released in Thailand, many reviewers praised the Nikkor Z 180-600, causing a surge in demand. However, after personally testing and using it, I discovered that it wasn't as flawless as it seemed. This lens does have some limitations. When shooting with the widest aperture and shooting against light or scenes with significant light contrast, the resulting images are sharp and satisfactory. However, those images tend to be hazy, which I find quite disappointing. You can see examples of this in the sample images below. This kind of lighting issue is particularly frustrating when shooting birds. This is something that many reviewers overlook. Let's be straightforward for those who are interested. This lens is the only one in my kit that is not part of the S-line, so I'm not sure if the Nikkor Z 100-400 f/4.5-5.6 VR S would produce better image quality. However, the other three S-line lenses in my kit, despite being budget-friendly, have no issues with image quality.

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 -- disappointing

Nikon Z6ii + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 -- disappointing


ส่วนความคมไม่น่าเป็นห่วง เลนส์ตัวนี้คมหวังผลได้สบาย (เหมือนตัวอื่น ๆ Nikkor 200-500, Sigma 150-600 ก็คมแบบนี้เหมือนกัน) หลัง ๆ มาถึงย้ำนักย้ำหนากับผู้ที่กำลังเลือกซื้อกล้องคู่ใจสักชุดว่า เรื่องความคม คุณภาพของภาพ เดี๋ยวนี้ไม่ทิ้งกันแล้วครับ ดีทั้งนั้น ให้ดูคาแรกเตอร์ของภาพเป็นหลักก่อนว่าชอบภาพ ชอบสีสันของกล้องยี่ห้อไหน แล้วสาย Performance ค่อยมาพิจารณาร่วมกับ “โอกาสในการได้ภาพ” ของกล้องยี่ห้อนั้น ๆ เช่น ระบบโฟกัส การถ่ายต่อเนื่อง ฯลฯ

As for sharpness, there's no need to worry. This lens delivers sharp results (similar to other lenses like the Nikkor 200-500 and Sigma 150-600). Recently, image sharpness and quality quite similar among various brands. Anyone who is choosing a new camera and lenses, start by considering the image characteristics and color rendering of the camera brand you prefer. Then, consider performance factors such as autofocus system, continuous shooting capabilities, etc., in conjunction with the 'opportunity for getting the shot' offered by that camera brand.

Nikon Z6ii + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Z6ii + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3


ระยะทำการ 600mm มันไปได้ไกลแค่ไหน ก็ต้องตอบว่ามันไม่สะใจเท่าซูม 100x ของโทรศัพท์สมัยนี้หรอกครับ แต่มันจะได้คุณภาพของภาพที่มากกว่า หวังผลใช้งานจริงจังได้ ถามว่าถ่ายไปได้ไกลแค่ไหนก็คงต้องเอาฉากคลาสสิกของเลนส์ super telephoto มาให้ดู คือการถ่ายดวงจันทร์ ที่ 600mm FX จะได้ขนาดประมาณนี้ครับ ความคม ความนวล การไล่โทนต่าง ๆ ถือว่าดีมาก ๆ ถ้ายังไม่สะใจ ขอเอาภาพดาวพฤหัสและดวงจันทร์บริวารอีก 4 ดวงมาให้พิจารณากันด้วยครับ ภาพที่ถ่ายได้จริงเปรียบเทียบกับภาพที่ crop มา (ผมจัดการไฟล์เต็มที่ใน Lightroom นะครับ ลดจุดรบกวนต่าง ๆ ไปเรียบร้อย)

The reach of a 600mm lens can't be compared to the 100x zoom of today's smartphones, but it delivers much better image quality. For real-world usage, it's better to assess classic scenes captured by super telephoto lenses. For example, shooting the moon at 600mm FX focal length produces an image of approximately this size. The sharpness, detail, and various tonal gradations are considered excellent. If you're still unsure, let's compare images of the Jupiter with four of its moons, to assess. The actual images captured compared to cropped ones (I processed the files in Lightroom, removing noise).

 

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 ที่ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 ที่ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 Jupiter and its moons cropped.


อีกประเด็นหนึ่งที่น่าจะเป็นคำถามคือ ถ้าใช้ 600mm แล้วเปิด mode DX ทำให้ได้ภาพขนาดเล็กลงเหลือประมาณ 10.6 mp กับถ่าย FX เต็ม 24 mp มา crop เอาเองอันไหนจะดีกว่ากัน เท่าที่ลองใช้เอง ไม่ได้ทำการทดสอบจริงจังนะครับ ผมสังเกตได้ว่าภาพที่ถ่ายมาในขนาด DX ตั้งแต่ในกล้อง ให้ภาพที่คมชัดมากกว่าการนำภาพใหญ่มา crop เองครับ (ตรงนี้ผมอาจไม่เก่งซอฟแวร์ เลยไม่ขอฟันธงว่าอย่างไร ให้ไปลองกันเองครับ)


Another point to consider is whether using the 600mm lens in DX mode to produce smaller-sized images around 10.6 MP is better than shooting in full FX mode at 24 MP and then cropping. Based on my own usage and observations, I've noticed that images taken in DX mode directly in the camera tend to be sharper than cropping larger images afterward. However, I'm not proficient in software, so I can't definitively say which method is better. It's best to try both methods yourself and see which one suits your preferences and workflow better.

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 FX 24mp vs. DX 10.6mp


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 FX crop(left) and DX(right)

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 shot with 600mm and cropped one.


การโฟกัส

Nikkor 180-600 ตั้งนี้การโฟกัสไว้ใจได้ ดีกว่าตัวก่อนอย่างมีนัยยะสำคัญ เร็วกว่า L-mount (Canon ไม่ได้ลองรุ่นใหม่ ๆ เพราะเลิกใช้ไปนานแล้วครับ) ตามสัตว์ได้ดี นกบินไว ๆ แบบพวกจาบคาหัวเขียว หัวส้ม ถือกล้องแพนถ่ายตอนกำลังบิน ยังทำได้ นกแอ่นที่ว่าบินไว ๆ ถ้าแพนตามได้ทันก็โฟกัสทัน แซงแซวหางปลาตอนกำลังบินก็เก็บได้สบาย ๆ ขณะที่เลนส์ช่วงนี้ตัวอื่น ๆ ที่เคยใช้มาไม่เคยทำได้เลย อันนี้ต้องขอชื่นชมและเป็นข้อดีของเลนส์+กล้อง ที่สร้างโอกาสในการได้ภาพมากขึ้นครับ

The autofocus capability of the Nikkor 180-600 is dependable and better than previous models, especially compared to L-mount lenses (I haven't tested newer Canon models as I've stopped using them for a while now). It performs well when capturing wildlife, including fast-flying birds like Bee-eaters. Even when panning with the camera while they are in flight, it manages to maintain focus. It also handles swiftly moving subjects like Black drongo with ease, which other lenses I've used in this range couldn't achieve. This is commendable and highlights the advantage of this lens and camera combination, which provides more opportunities for capturing great shots.

 

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Z6ii + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3


ระบบกันสั่น

ถ้าถ่ายภาพที่ตัวแบบนิ่ง ๆ นะครับ ถ่ายช่วงซูมที่ 600mm ขณะที่ความไวชัตเตอร์ต่ำกว่า 1/100 ยังมีโอกาสเอาอยู่ ระบบ VR ค่อนข้างดีมาก เหมือนที่ 200-500 เคยทำได้ดีมากก่อน ตรงนี้ค่อนข้างประทับใจและไม่มีข้อติติงอะไรครับ


VR

The vibration reduction (VR) system of the Nikkor 180-600 performs admirably, even when shooting at 600mm focal length with a shutter speed slower than 1/100 in static conditions. It's quite impressive and comparable to the performance of the VR system in the Nikkor 200-500, which has been highly regarded for its effectiveness. This aspect of the lens leaves a positive impression and doesn't raise any concerns.

 

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3


ประสบการณ์ตรงจากเลนส์ตัวนี้คือ เลนส์มันออกแบบเอาไว้สำหรับถ่ายสัตว์ป่า ถ่ายนกครับ มันปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม แต่ถ้าเอามาใช้ผิดสถานการณ์ เช่น เอามาใช้ถ่ายภาพลูกสาวแข่งยิมนาสติก มันก็พอได้ โฟกัสรวดเร็วตามทัน แต่ในที่แสงน้อยและต้องหยุดความเคลื่อนไหวของนักกีฬา คุณภาพของภาพมันไม่ได้ครับ และถ้าถ่ายที่ทางยาวโฟกัสเยอะ ๆ เช่น 600mm เอามาถ่ายคน หน้าจะแบน ไม่สวยนะครับ ของผมมันช่วยไม่ได้ จะให้ซื้อเลนส์ใหม่เพื่อการนี้ยังรู้สึกไม่ค่อยคุ้ม อย่างไรก็ตามการถ่าย Event ในลักษณะนี้ หากท่านใดสนใจขอให้พิจารณาช่วง 70-200 f2.8 จะเหมาะสมกว่ามากครับ ขึ้นอยู่กับงบประมาณและโอกาสการใช้งานของแต่ละท่านก็แล้วกัน ถ้ามีโอกาสได้นั่งติดขอบสนามผมลองเอา Nikkor 85/1.8S มาถ่าย ให้ภาพได้ดีกว่ามากจริง ๆ ครับ ลองพิจารณากันดู

 

สำหรับผมเลนส์ตัวนี้เหมาะกับอาชีพมาก ถ่ายภาพดอกไม้ ผลไม้ ตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ แถมด้วยการดูนกดูสัตว์ ผมว่าอยู่ในระดับที่ “โอเค” แล้วเมื่อเทียบกับราคาที่จ่ายไป คุณภาพของภาพและการโฟกัสไม่มีข้อติ แค่เสียเปรียบและเสียโอกาสในการได้ภาพดี ๆ ในสถานการณ์ที่มีแสงน้อยเท่านั้นเอง (ซึ่งก็เหมือนกับตัวอื่น ๆ ที่เคยใช้มาทั้งหมด) ส่วนจุดรบกวนที่เกิดขึ้นจาก ISO สูง ๆ ขอบอกเลยว่ากล้องแต่ละยี่ห้อ ให้ผลลัพธ์ออกมาไม่เหมือนกันนะครับ ส่วนตัวผมชอบจุดรบกวนจากตระกูล L-mount มากกว่า Nikon เพราะมันดูเป็นเกรนธรรมชาติ ไม่ขัดสายตา ลองไปเล่นกันดูครับ โดยสรุปก็คือ 180-600 ค่อนข้างเป็นเลนส์เฉพาะทาง พิจารณาการใช้งาน และโอกาสในการใช้กันดี ๆ และถ้าต้องเลือกซื้อเลนส์ในกลุ่มนี้อยู่แล้ว ตัวนี้ถือว่าใช้ได้ แม้ในบางสถานการณ์ยังแอบไปคิดถึง Nikkor 100-400 f4.5-5.6 VR S อยู่บ้างก็ตาม... สวัสดี


The experience with this lens is that it's designed primarily for wildlife photography, especially birding, where it performs exceptionally well. However, if used in different scenarios, such as capturing fast-paced sports like gymnastics, its performance might not be as satisfactory. In low light conditions where the motion of athletes needs to be frozen, the image quality might suffer. Additionally, when used at longer focal lengths like 600mm to capture people, the images might appear flat. In such cases, it may not be worth investing in a new lens specifically for this purpose. For event photography, especially in scenarios like the one described, the Nikkor 70-200mm f/2.8 would be much more suitable. However, the choice ultimately depends on budget and specific usage scenarios. Furthermore, if there's an opportunity to sit close to the edge of the field, using the Nikkor 85mm f/1.8S would yield significantly better results. It's worth considering these factors before making a decision.

For me, this lens is very suitable for my profession. It's great for photographing flowers and fruits at the tops of tall trees. Plus, it's perfect for bird and wildlife photography. I'd say it's okay, considering the price paid. The image quality and focus are spot on, except for some missed opportunities in low-light situations (which is similar to other lenses I've used). As for the noise from high ISO, I must say that each camera brand produces different results. Personally, I prefer the noise from L-mount lenses over Nikon because it looks more natural and less distracting. Let's try it out and see. In summary, the 180-600 lens is quite specialized, but considering its usability and opportunities, it's worth it. However, in some situations, I still think about the Nikkor 100-400 f4.5-5.6 VR S lens... Goodbye.


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3

Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3


ปิดท้ายรีวิวว่าเมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสแบกเลนส์ตัวนี้ไปเที่ยวเชียงใหม่ ขึ้นดอยอินทนนท์เลยยิงนกมาฝากกัน ให้เห็นว่าใช้งานจริง ๆ เป็นอย่างไรนะครับ ส่วนตัวยังรำคาญกับภาพที่ย้อนแสงแล้วฟุ้ง F ก็แคบอยู่แล้วยังคุณภาพไม่ได้อีก อันนี้เหนื่อยใจพอควร มาฟุ้งตอนเจอนกเทพภาพสุดท้าย ส่วนภาพอื่น ๆ ถ้าไม่ย้อนแสงผมว่าใช้งานได้ดีไม่มีที่ติอะไรครับ


To conclude the review, recently, I had the opportunity to take this lens to Chiang Mai and shoot birds on Doi Inthanon. This allowed me to see firsthand how it performs in real-life situations. Personally, I still find the issue with backlighting and the narrow aperture frustrating, especially when the quality suffers. However, this is somewhat expected. But when I finally captured that rare bird image, it made up for the frustration. Overall, aside from the backlighting issue, I find that the lens performs admirably in other situations without any major drawbacks.


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "กระทาดงคอสีแสด" Arborophila rufogularis

ถือถ่ายเวลากดชัตเตอร์ภาพขยับ ขาขาดเลย


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "หางรำดำ" Malacias melanoleucus


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "กินปลีหางยาวเขียว" Aethopyga nipalensis


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "เอี้ยงถ้ำ" Myophonus caeruleus


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "กระจิ๊ดหางขาวใหญ่" Phylloscopus claudiae


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "ศิวะหางสีตาล" Chrysominla strigula


Nikon Zf + Nikkor Z 180-600 f5.6-6.3 @ f6.3 "เดินดงอกเทา" Turdus feae


Comments


bottom of page